Homeบางพลัดกรุงเทพฯบางพลัด

บางพลัด

จำหน่ายเหล็กฉากเจาะรู สำหรับทำชั้นวางของ จัดส่งด่วนได้เขตบางพลัด ไม่ติดเวลา สั่งตัดได้ (ขั้นต่ำ20เส้น)

เดิมเขตบางพลัดมีฐานะเป็นอำเภอชั้นในอำเภอหนึ่งของพระนคร มีชื่อว่า อำเภอบางพลัด ต่อมาถูกลดฐานะเป็น ตำบลบางพลัด ขึ้นอยู่กับอำเภอบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรี ภายหลังได้มีการรวมจังหวัดธนบุรีกับจังหวัดพระนครเข้าด้วยกันเป็นจังหวัดนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. 2515 ตำบลบางพลัดจึงเปลี่ยนฐานะเป็น แขวงบางพลัด เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร

โดยชื่อ “บางพลัด” หมายถึง การพลัดหลง หรือหลงถิ่น เชื่อว่ามาจากเมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2310 แก่พม่า เมื่อผู้คนอพยพหนีลงมาสู่ที่นี่ ได้เกิดการพลัดหลงหรือหลงหายกัน เนื่องจากมีลำคลอง ลำประโดง และมีสวนแน่นขนัด ทำให้ผู้ที่เข้ามาในละแวกนี้มักจะเกิดการพลัดหลงเข้าออกไม่ถูกอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งนามเช่นนี้มีความหมายในเชิงไม่เป็นมงคลในความเชื่อ จึงมีแนวคิดที่จะเปลี่ยนเป็น “บางภัทร์” ใน พ.ศ. 2545 แต่ที่สุดก็ไม่ได้มีการเปลี่ยนแต่อย่างใด

แต่ก็มีอีกทฤษฎีหนึ่งว่าอาจจะมาจากภาษามลายูคำว่า “palas” (ออกเสียง ปาลัส) ซึ่งหมายถึง ต้นกะพ้อ ซึ่งเป็นพืชในวงศ์ปาล์ม มักขึ้นในที่ลุ่ม ใบใช้ทำขนมต้ม ขนมโบราณของไทยและชาติพันธุ์อื่นที่อยู่ใกล้เคียง

วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 ได้ทีการจัดตั้งที่ทำการแขวงบางพลัด โดยใช้อาคารเรียนของโรงเรียนวัดบางพลัด ซึ่งตั้งอยู่ที่ซอยจรัญสนิทวงศ์ 79 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางพลัด เขตบางกอกน้อยในขนะนั้น

ต่อมาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2532 กรุงเทพมหานครได้จัดตั้งสำนักงานเขตบางกอกน้อย สาขาบางพลัด ขึ้นดูแลพื้นที่แขวงบางพลัด บางอ้อ บางบำหรุ และบางยี่ขัน ซึ่งต่อมาท้องที่ทั้ง 4 แขวงนี้ได้ยกฐานะขึ้นเป็น เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตบางกอกน้อยและจัดตั้งเขตบางพลัด

และเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2534 ได้มีประกาศของกระทรวงมหาดไทย เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตบางพลัด โดยตัดพื้นที่แขวงบางบำหรุและบางยี่ขัน เฉพาะส่วนที่อยู่ทางทิศใต้ของถนนบรมราชชนนีและถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า กลับไปเป็นพื้นที่ในการปกครองของเขตบางกอกน้อยอีกครั้ง

ถนนสายหลักในพื้นที่ได้แก่

ถนนจรัญสนิทวงศ์ เชื่อมระหว่างสี่แยกบรมราชชนนีกับสะพานพระราม 7
ถนนสิรินธร เชื่อมระหว่างทางแยกต่างระดับสิรินธรกับสี่แยกบางพลัด
ถนนราชวิถี เชื่อมระหว่างสี่แยกบางพลัดกับสะพานกรุงธน
ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า (ทางขนานขาเข้า)
ถนนอรุณอมรินทร์ เชื่อมระหว่างสี่แยกอรุณอมรินทร์กับสะพานพระราม 8
ทางพิเศษศรีรัช เชื่อมกับถนนกาญจนาภิเษก
ถนนรุ่งประชา
ถนนเทอดพระเกียรติ
ถนนเจ้าพระยาสยาม (จรัญสนิทวงศ์ 66/1)
ซอยจรัญสนิทวงศ์ 40 (อัศวมิตร) และซอยอรุณอมรินทร์ 49 (วัดน้อยนางหงษ์)
ซอยจรัญสนิทวงศ์ 44 (วิมลสรกิจ)
ซอยจรัญสนิทวงศ์ 46 (พระยาวรพงษ์)
ซอยจรัญสนิทวงศ์ 65 / ซอยสิรินธร 7 (ร่วมพัฒนา)
ซอยจรัญสนิทวงศ์ 67 (เลิศสุข)
ซอยจรัญสนิทวงศ์ 69 (เสริมสุข)
ซอยจรัญสนิทวงศ์ 71 (เลิศบุญ)
ซอยจรัญสนิทวงศ์ 75 (ภาณุรังษี)
ซอยสิรินธร 2 (สมชายพัฒนา)
ซอยสมเด็จพระปิ่นเกล้า 4 (สุวิชานดำริ)

 

รายการสั่งซื้อสินค้า0
There are no products in the cart!
ช๊อปสินค้าต่อ
0