-
เหล็กฉากเจาะรู ทำชั้นวางของ ชนิดด้านเท่า
175.00฿ – 255.00฿ เลือกรูปแบบ This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page -
เหล็กฉากเจาะรู ชนิดด้านไม่เท่า
260.00฿ – 325.00฿ เลือกรูปแบบ This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page -
อุปกรณ์ในการประกอบชั้นเหล็กฉากเจาะรู ชนิดด้านเท่า
3.00฿ – 85.00฿ เลือกรูปแบบ This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page -
อุปกรณ์ในการประกอบชั้นเหล็กฉากเจาะรู ชนิดด้านไม่เท่า
18.00฿ – 90.00฿ เลือกรูปแบบ This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page -
ไม้อัดปูพื้นชั้น 10 มิล เอ ไส้เต็ม
750.00฿ เลือกรูปแบบ This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page -
ไม้อัดฟิลม์ดำ 15 มิล สั่งตัด
780.00฿ เลือกรูปแบบ This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page -
ไม้อัด HMR เคลือบเมลามีน สีขาว 2 ด้าน
985.00฿ เลือกรูปแบบ This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page
จำหน่ายเหล็กฉากเจาะรู สำหรับทำชั้นวางของ จัดส่งด่วนได้เขตพระโขนง ไม่ติดเวลา สั่งตัดได้ (ขั้นต่ำ20เส้น)
- อ่านวิธีการสั่งตัดได้ที่นี่ (วิธีการสั่งตัดเหล็กฉากเจาะรู)
- อ่านวิธีการจัดส่งได้ที่นี่ (วิธีการจัดส่ง)
- อ่านราคาเหล็กฉากรูได้ที่นี่ (ราคาเหล็กฉากเจาะรู)
เขตพระโขนงเดิมมีฐานะเป็น อำเภอพระโขนง เป็นเขตการปกครองของเมืองนครเขื่อนขันธ์ ปรากฏชื่อเท่าที่สืบค้นได้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2445 (เมืองนครเขื่อนขันธ์เปลี่ยนชื่อเป็นเมืองพระประแดงในปี พ.ศ. 2457 และเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นจังหวัดพระประแดงในปี พ.ศ. 2459) ในสมัยแรกตั้งที่ว่าการอำเภออยู่ที่สามแยกวัดมหาบุศย์ (บริเวณที่คลองตันบรรจบคลองพระโขนง) แบ่งท้องที่การปกครองออกเป็น 12 ตำบล ได้แก่ ตำบลคลองเตย ตำบลคลองตัน ตำบลพระโขนง ตำบลสวนหลวง ตำบลศีรษะป่า (หัวป่า) ตำบลคลองประเวศ ตำบลทุ่งดอกไม้ ตำบลหนองบอน ตำบลบางจาก ตำบลบางนา ตำบลสำโรง และตำบลบางแก้ว จากนั้นจึงย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งที่วัดสะพาน ริมทางรถไฟสายปากน้ำ เมื่อปี พ.ศ. 2459
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2470 ทางราชการได้โอนอำเภอพระโขนงมาขึ้นกับจังหวัดพระนครเพื่อความสะดวกในการปกครอง ก่อนที่จังหวัดพระประแดงจะถูกยุบและแยกพื้นที่ไปรวมกับจังหวัดธนบุรีและจังหวัดสมุทรปราการ 5 ปี และเนื่องจากท้องที่อำเภอพระโขนงเริ่มมีสภาพเป็นชุมชน ย่านการค้า อุตสาหกรรม และที่พักอาศัยหนาแน่น ในปี พ.ศ. 2479 ทางราชการจึงได้ตั้งเทศบาลนครกรุงเทพโดยโอนพื้นที่บางส่วนของตำบลคลองเตยเข้าไปในท้องที่ และได้ขยายเขตเทศบาลออกไปครอบคลุมตำบลอื่น ๆ เกือบทั้งหมดในอำเภอภายในปี พ.ศ. 2507 ในช่วงนี้ที่ว่าการอำเภอพระโขนงได้ย้ายจากวัดสะพานมาตั้งอยู่ริมถนนสุขุมวิท (ที่ตั้งสำนักงานเขตปัจจุบัน) แล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2495
ในปี พ.ศ. 2514 จังหวัดพระนครถูกรวมเข้ากับจังหวัดธนบุรี เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี[8] และในปี พ.ศ. 2515 จึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้ยกเลิกการปกครองท้องถิ่นแบบเทศบาลและสุขาภิบาล รวมทั้งเปลี่ยนการเรียกหน่วยการปกครองใหม่จากอำเภอและตำบลเป็นเขตและแขวงด้วย อำเภอพระโขนงจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตพระโขนง แบ่งออกเป็น 9 แขวงตามจำนวนตำบลที่มีอยู่เดิมก่อนการปรับปรุงรูปแบบการบริหารเมืองหลวง
ภายหลังเขตพระโขนงมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้น ในปี พ.ศ. 2532 กรุงเทพมหานครได้จัดตั้งสำนักงานเขตสาขาของเขตพระโขนงขึ้น 3 แห่งขึ้นดูแลท้องที่ต่าง ๆ เพื่อให้การปกครองและการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และในปีเดียวกัน กระทรวงมหาดไทยก็ได้ยกฐานะท้องที่ของสำนักงานเขตพระโขนง สาขา 1 และสำนักงานเขตพระโขนง สาขา 2 เป็นเขตคลองเตยและเขตประเวศตามลำดับ (ส่วนท้องที่ของสำนักงานเขตพระโขนง สาขา 3 โอนไปเป็นของเขตประเวศจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2537 จึงแยกออกไปเป็นเขตสวนหลวง)
เมื่อปี พ.ศ. 2541 มีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตพระโขนงอีกครั้ง โดยแขวงบางนาและบางส่วนของแขวงบางจากได้รับการยกฐานะเป็นเขตบางนา[15] ท้องที่เขตพระโขนงจึงเหลือแขวงบางจากอยู่เพียงแขวงเดียวจนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2560 จึงมีการแบ่งแขวงการปกครองในเขตพระโขนงออกเป็นสองแขวง
เส้นทางถนนสายหลักในพื้นที่ได้แก่
ถนนสุขุมวิท
ถนนทางรถไฟสายเก่าปากน้ำ
ทางพิเศษเฉลิมมหานคร
ทางด่วนบางนา-อาจณรงค์
ซอยสุขุมวิท 54 (รัตนพราหมณ์)
ซอยสุขุมวิท 62 (สามภพนฤมิตร)
ซอยสุขุมวิท 62/1 (อู่รถเมล์ขาว)
ซอยสุขุมวิท 64 (พงษ์เวชอนุสรณ์)
ซอยสุขุมวิท 93 (พึ่งมี) และซอยพึ่งมี 50 (นิรันดร์วิลล่า)
ซอยสุขุมวิท 101 (ปุณณวิถี)
ซอยสุขุมวิท 101/1 (วชิรธรรมสาธิต) และซอยวชิรธรรมสาธิต 70 (สุภาพงษ์)
ซอยพึ่งมี 29 (วัดราษฎร์ศรัทธาธรรม)
ซอยปุณณวิถี 28 (สาธิตพัฒนา) และซอยวชิรธรรมสาธิต 23 (จุฬา 2)
ซอยปุณณวิถี 30 / ซอยวชิรธรรมสาธิต 25 (จุฬา 3)
ซอยวชิรธรรมสาธิต 57 (สามพี่น้อง)
ซอยอุดมสุข 51 (ประวิทย์และเพื่อน)